Loading...

 

 

กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค

โรงพยาบาลป่าพะยอม

171 ม.2 ต.ป่าพะยอม อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 93210
โทรศัพท์ภายใน 074-673967 ต่อ 106

หน้าที่และเป้าหมาย

ให้บริการเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว ภายใต้มาตรฐานวิชาชีพ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความปลอดภัยและพึงพอใจในบริการ

ขอบเขตการให้บริการ

  • ให้บริการเภสัชกรรมผู้ป่วยทุกวัน เวลา 08.30 – 16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ ไม่แยกบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน นอกเวลาราชการให้บริการโดยห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
  • ให้บริการเภสัชกรรมผู้ป่วยในโดยระบบการกระจายยาแบบ one daily dose
  • ให้บริการเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายบริการสุขภาพที่รับผิดชอบสำหรับผู้ป่วย NCD ที่แพทย์ส่งไปรับยาที่หน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้านรครอบคลุมตามแผนการรักษาทุกสถานบริการ
  • ให้บริการข้อมูลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่บุคลากรและประชาชนทั่วไปทุกวันในเวลา 08.30 - 16.30 น.
  • คัดเลือก จัดซื้อ จัดหา ควบคุม เก็บรักษา และกระจายยา วัคซีน เวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา แก่หน่วยงานในโรงพยาบาลและหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายบริการสุขภาพ
  • ดำเนินการเฝ้าระวังการประกอบการด้านสุขภาพ  ได้แก่ สถานพยาบาล คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม ร้านขายยา และสถานที่ผลิตอาหาร(54 ประเภท)ที่ต้องตรวจตามเกณฑ์ GMP การดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขจะปฏิบัติงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอป่าพะยอมและหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่าย 

ปริมาณงานและทรัพยากร (คน เทคโนโลยี เครื่องมือ)
คน : ประกอบด้วยเภสัชกร 5 คน เจ้าพนักงานเภสัชกรรม 5 คน และพนักงานเภสัชกรรม 2 คน โดยบุคลากรได้รับการพัฒนาตามหน้าที่ความรับผิดชอบครอบคลุมทุกคน แต่มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลังทดแทนเมื่อมีบุคลากรไปราชการ/ประชุม/อบรม/ลา
เทคโนโลยี : มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการปฏิบัติงานดังนี้
1)โปรแกรม Mit-Net ในงานบริการผู้ป่วย
2)โปรแกรม INV ในงานบริหารคลังเวชภัณฑ์
3)โปรแกรมพิมพ์ฉลาก Pre-packing
4) Internetความเร็วสูงในการสืบค้นข้อมูล
5)website ของโรงพยาบาลในการให้บริการข้อมูลยา ในภาพรวมเทคโนโลยีเหมาะสม แต่มีข้อจำกัดของโปรแกรม MIT-NET ที่ Pop-upและดักจับ Drug Interaction
เครื่องมือ : มีเครื่องมือสำคัญดังนี้
1)เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
2)ตู้เก็บยาควบคุมอุณหภูมิ
3)เครื่องปรับอากาศ
4)Smoke Detector ในคลังเวชภัณฑ์
5)เทอร์โมมิเตอร์/เครืองวัดความชื้น

 

ผู้รับผลงาน

ความต้องการ

ผู้ป่วย/ญาติ

1.ได้รับยาครบถ้วน ถูกต้อง รวดเร็ว
2.พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส
3.แสดงการรับรู้และเข้าใจปัญหารวมทั้งพยายามแก้ปัญหาตามขอบเขตรับผิดชอบ

แพทย์

1.ทบทวนการสั่งจ่ายยาของแพทย์ และแจ้งกลับเพื่อการพัฒนา
2.อยากได้ใบแจ้ง drugs interaction เพื่อการเฝ้าระวังและลดโอกาสเกิดอันตรายจากการใช้ยาให้ผู้ป่วย

หน่วยงานหอผู้ป่วย

1.อยากให้ส่งรถยาผู้ป่วยใน ภายในเวลา 15.00 น.
2.ยาที่เภสัชกร consult แล้วขอให้แจ้ง ward ด้วย
3.มีการประสานงานที่ดี พูดจาไพเราะ
4.ยาที่มีการจ่ายผิดพลาด อยากให้รับผิดชอบจัดส่งเองให้เรียบร้อย
5.ผู้ป่วยที่กลับบ้านขอให้ขึ้นไปจ่ายยาเป็นชุดๆตามที่ward จัดส่งลงมา

หน่วยงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน

1.ใบสั่งฉีดยาขอให้มีข้อมูลที่จำเป็นครบถ้วน ได้แก่ รายละเอียดการบริหารยา HN อายุ
2.การคืนยา stat ในคนไข้ ดูอาการและคนไข้นอนโรงพยาบาล ขอให้ปฎิบัติแนวทางเดียวกันตามที่ตกลงกันไว้
3.มีการประสานงานที่ดีต่อกัน

หน่วยงานห้องคลอด/ห้องผ่าตัด

1.มีการประสานที่ดี
2.ได้รับยาถูกต้องตรงตามแผนการรักษา
3. ได้รับการสนับสนุนความรู้ทางวิชาการด้านยาตรงตามความต้องการ
4. มีแนวทางการประสานงานที่ชัดเจน กรณีต้องยืมยาจากหน่วยงานภายนอกมาใช้ที่หน่วยบริการ

 

ผู้รับผลงาน

ความต้องการ

หน่วยงานผู้ป่วยนอก

1. one stop service ในคลินิก เบาหวาน ความดัน และหอบหืด
2. เพิ่มแรงจูงใจในการค้นหาผู้ป่วยแพ้ยา
3. ส่งเภสัชกรไปให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง

หน่วยงานกลุ่มการจัดการ

1. การขอนุมัติ /จ้างที่เป็นเรื่องเร่งด่วน อยากให้ผ่านผู้บังคับบัญชาระดับต้นก่อนจึงส่งให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ดำเนินการต่อไป
2. การขออนุมัติจัดซื้อ/จ้างครุภัณฑ์ หากเป็นการซื้อใหม่ให้จัดทำตามแบบขออนุมัติ หากเป็นการซ่อมให้ใช้แบบฟอร์มการซ่อม

หน่วยงานคลินิกเฉพาะโรค

1.ได้รับการสนับสนุนยาที่มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามแผนการรักษาของผู้ป่วยแต่ละโรค
2. การให้บริการแบบ one stop service ในบางโรค
3.ส่งเภสัชกรไปให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการใช้ยาในคลินิกเฉพาะโรคอย่างต่อเนื่อง

หน่วยบริการปฐมภูมิ

1.ได้รับการสนับสนุนยาที่มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงเวลา
2.ได้รับการบริการและประสานงานที่รวดเร็ว ประทับใจ
3.ได้รับการสนับสนุนข้อมูลข่าวสารด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันสมัย

กระบวนการสำคัญ
(Key Processes)

กระบวนการสำคัญ
(Key Process)

สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ
(Process Requirement)

ตัวชี้วัดสำคัญ
(Performance Indicator)

บริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน

เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ข้อมูลและคำแนะนำ ที่ถูกต้อง รวดเร็ว มีคุณภาพ เหมาะสม สามารถใช้ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างปลอดภัย และพึงพอใจในบริการ

-อุบัติการณ์แพ้ยาซ้ำ
-อัตรา Pre-dispensing error
-อัตรา Dispensing error
-ร้อยละของผู้ป่วยนอกที่รอรับยาเกิน 7 นาที
-ร้อยละของผู้ป่วยในที่ได้รับยาไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังจำหน่าย
-ร้อยละของผู้ป่วยในที่จำหน่ายได้รับคำแนะนำปรึกษาด้านยาโดยเภสัชกร
-อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านเภสัชกรรม
-ร้อยละของปัญหาที่เกี่ยวกับยา(DRPS)ที่แก้ไขได้ในผู้ป่วย
-ผลการประเมินมาตรฐานความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาล

บริการเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

เพื่อให้การบริการเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิเป็นไปอย่างเหมาะสม ปลอดภัย

-อุบัติการณ์แพ้ยาซ้ำรพ.สต.
-อัตรา Pre-dispensing error
-อัตรา Dispensing error
-การผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ รพ.สต. ด้านเภสัชกรรม

บริหารเภสัชภัณฑ์

เพื่อให้มียา เวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ คงคุณภาพ พร้อมต่อการให้บริการผู้ป่วยในปริมาณที่เหมาะสมและ

-อัตราเวชภัณฑ์ขาดคราว
-อัตราการสำรองเวชภัณฑ์

คุ้มครองผู้บริโภค

-เพื่อเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพให้เป็นไปตามในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดและมีความปลอดภัย

-ร้อยละของสถานพยาบาล, ร้านขายยา,สถานประกอบการผลิตน้ำ ผลิตอาหาร ที่ได้รับการตรวจตามเกณฑ์